http://www.watduangkhaeschool.com
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com

 หน้าแรก

 บุคลากร

 โรงเรียนสองภาษา

 ติดต่อเรา

 เว็บบอร์ด

โครงการเด็กดีมีเงินออม

ชื่อโครงการ                           โครงการเด็กดีมีเงินออม

หน่วยงานที่รับผิดชอบ             โรงเรียนวัดดวงแข

ปีการศึกษา                             2554                  


หลักการและเหตุผล

ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเป็นปรัชญาที่ชี้แนวทางการดำรงอยู่และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชน จนถึงระดับรัฐให้ดำเนินไปในทางสายกลาง เพื่อให้ก้าวทันต่อโลกในยุคโลกาภิวัตน์ ซึ่งภายในสภาวการณ์ปัจจุบัน นักเรียนส่วนใหญ่มีพฤติกรรมการใช้เงินอย่างไม่เห็นคุณค่า ไม่มีเหตุผล ฟุ่มเฟือย ลุ่มหลงในค่านิยมทางวัตถุ และเทคโนโลยีทั้งที่ยังไม่สามารถหารายได้ด้วยตนเอง จึงส่งผลให้พ่อแม่ต้องรับภาระค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงดูมากขึ้น นอกจากนั้นนักเรียนขาดการเตรียมความพร้อมสำหรับการดำเนินชีวิตในอนาคต จึงทำให้เมื่อถึงเวลาจำเป็นที่จะต้องใช้เงินไม่สามารถหาเงินได้ ทำให้พ่อแม่ต้องเดือดร้อน

โรงเรียนวัดดวงแขได้ตระหนักถึงความสำคัญดังกล่าวจึงได้น้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช มาเป็นแนวทางในการแก้ปัญหาด้วยการบูรณาการกับหลักสูตรสถานศึกษา ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑และจัดให้มีโครงการเด็กดีมีเงินออม โดยส่งเสริมให้นักเรียนรู้จักบริหารจัดการการใช้เงิน มีทักษะและเป้าหมายที่ชัดเจนในการออม เห็นคุณค่าของการออม มีทักษะในการบริหารงบประมาณ รู้จักคุณค่าของเงินและสิ่งของ มีวิธีคิดที่จะพิจารณาในการใช้เงิน รู้จักการออม รู้จักกระบวนการออมเงิน สามารถนำกระบวนการต่างๆดังกล่าวข้างต้นไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันอย่างเหมาะสมกับวัย รู้จักการใช้เงินให้เป็นประโยชน์มากที่สุด อันจะส่งผลให้การดำเนินชีวิตในอนาคตเป็นคนที่มีคุณภาพ

 วัตถุประสงค์

๑. เพื่อให้นักเรียนรู้จักวางแผนในการใช้จ่ายเงิน  และมีวินัยในการใช้จ่ายเงิน

๒. เพื่อต่อยอดการเรียนรู้ทักษะกางวางแผนจัดการด้านการเงินให้กับนักเรียน

๓. นักเรียนได้ตระหนักถึงการออม และใช้เงินอย่างถูกวิธี

๔. นักเรียนมีความตระหนักว่าการออมเป็นการดำเนินชีวิตอย่างพอเพียงตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง

๕. เพื่อส่งเสริมทักษะความคิดสร้างสรรค์ในการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างคุ้มค่า และเกิดประโยชน์สูงสุดแก่นักเรียนภายใต้แนวคิด  “รู้หา รู้เก็บ รู้ใช้ รู้จักให้”

๖. เพื่อปลูกฝังให้นักเรียนมีการแบ่งปัน ความมีน้ำใจ และเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ให้กับคนอื่นๆในสังคม

 เป้าหมาย

๑) เป้าหมายด้านปริมาณ

๑) ร้อยละ ๑๐๐  นักเรียนโรงเรียนวัดดวงแขเข้าร่วมโครงการเด็กดีมีเงินออม

๒) ร้อยละ ๑๐๐  ของนักเรียน โรงเรียนวัดดวงแข ในปีการศึกษา ๒๕๕๔  มีเงินออมเป็น ค่าใช้จ่ายในการศึกษาต่อในระดับมัธยมศึกษา

๒)  เป้าหมายด้านคุณภาพ

๑) นักเรียนโรงเรียนวัดดวงแขทุกคนมีวินัยในการใช้จ่ายเงิน

๒)  นักเรียนทุกคนมีการวางแผนจัดการด้านการเงินและสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างเหมาะสมกับวัย

 

ลักษณะของโครงการ

เป็นโครงการใหม่ที่สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์ที่ ๑ : การส่งเสริมให้ครู บุคลากรในโรงเรียนและนักเรียนประยุกต์ใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในการดำรงชีวิต ตามแผนการใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงโรงเรียนวัดดวงแข เพื่อพัฒนาและส่งเสริมทักษะกระบวนการต่อเนื่องตลอดปีการศึกษา ๒๕๕๔

 แนวทางการดำเนินงาน

โรงเรียนวัดดวงแข สำนักงานเขตปทุมวัน ได้ดำเนินการตามกระบวนการ ๘ ขั้นตอน โดยอาศัยกรอบการดำเนินงานตามวงจรคุณภาพ (PDCA) ดังนี้

 ขั้นที่ ๑ สร้างความตระหนักและความเข้าใจ

วิธีการดำเนินการ

จัดอบรมให้ความรู้แก่ครูและบุคลากรทางการศึกษา เรื่อง ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียประชุมชี้แจงเกี่ยวกับเหตุผล ความจำเป็นในการนำเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษา จัดอบรมให้ความรู้แก่ครูและบุคลากรทางการศึกษา เกี่ยวกับการนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับใช้ในโรงเรียนวัดดวงแข ประชุมชี้แจงความจำเป็น และความสำคัญของการนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มาปรับใช้ในโรงเรียนวัดดวงแข ให้คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน คณะกรรมการเครือข่ายผู้ปกครองรับทราบและเห็นชอบ

 ผลที่ได้รับ

 ครูและบุคลากรทุกคนได้รับทราบเหตุผล ความจำเป็น และความสำคัญของการนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับใช้ในโรงเรียนวัดดวงแข  ครูและบุคลากรทุกคนเห็นความสำคัญของการนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มาปรับใช้ในโรงเรียนวัดดวงแขและร่วมกันกำหนดแนวทางในการปฏิบัติที่ตรงกันได้รับความร่วมมือจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในการปฏิบัติงาน

ขั้นที่ ๒ ประเมินตนเองตามบริบท/สภาพจริง

วิธีการดำเนินการ

๑) ประเมินสภาพการบริหารจัดการสถานศึกษา การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ทั้ง ๘ กลุ่มสาระ การ เรียนรู้ และกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนในปัจจุบันของโรงเรียนวัดดวงแขตามสภาพจริง

๒) สำรวจสภาพการณ์ ๒ ด้าน คือ สภาพการณ์ภายในและสภาพการณ์ภายนอกของโรงเรียนวัดดวงแข

 ผลที่ได้รับ

สามารถเก็บข้อมูลจากการวิเคราะห์ผลการประเมินดังกล่าวข้างต้นได้ตามสภาพจริง ครู บุคลากรทางการศึกษา และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน คณะกรรมการเครือข่ายผู้ปกครองได้รับทราบข้อมูลจากการวิเคราะห์ผลการประเมิน

 ขั้นที่ ๓ วิเคราะห์ข้อมูลและประชุมตัดสินการพัฒนาร่วมกัน

วิธีการดำเนินการ

รวบรวมข้อมูลการประเมินสภาพการบริหารจัดการสถานศึกษา การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ทั้ง ๘ กลุ่มสาระการเรียนรู้ กิจกรรมพัฒนาผู้เรียนและสภาพภายใน และสภาพการณ์ภายนอก มาวิเคราะห์ (SWOTAnalysis)หรือวิเคราะห์สภาพการณ์ (SituationAnalysis)ของโรงเรียนวัดดวงแขเพื่อค้นหาจุดแข็ง (Strengths) จุดอ่อน (Weaknesses) หรือสิ่งที่อาจเป็นปัญหาสำคัญในการดำเนินงานสู่สภาพที่ต้องการในอนาคตเพื่อให้รู้ตนเอง (รู้เรา) รู้จักสภาพแวดล้อม (รู้เขา) ชัดเจน และวิเคราะห์โอกาส (Opportunities) อุปสรรค (Threats)   ซึ่งข้อมูลเหล่านี้  จะเป็นประโยชน์อย่างมาก   ต่อการกำหนดวิสัยทัศน์  การกำหนดกลยุทธ์และการดำเนินตามกลยุทธ์ของการจัดทำแผนการใช้ หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงโรงเรียนวัดดวงแข  ที่เหมาะสมต่อไป ครู บุคลากรทางการศึกษา และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน คณะกรรมการเครือข่ายผู้ปกครองร่วมกันกำหนดโครงการ / กิจกรรมที่สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ เป้าประสง๕ พันธกิจ และยุทธศาสตร์ตามแผนการใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงโรงเรียนวัดดวงแข ผู้บริหารแต่งตั้งคณะทำงานตามโครงการเด็กดีมีเงินออมที่สอดคล้องกับ ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ ๑ การส่งเสริมให้ครู บุคลากร ในโรงเรียนและนักเรียนประยุกต์ใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในการดำรงชีวิต จากครูและบุคลากรของโรงเรียนวัดดวงแขทุกฝ่าย คณะทำงานประสานรายละเอียดกับธนาคารออมสิน สาขาหัวลำโพง จัดเตรียมความพร้อมเอกสารเพื่อใช้สำหรับการเปิดบัญชีเงินฝากของนักเรียน และกำหนดเวลา  ปฏิทินการปฏิบัติกิจกรรมในการรับฝากเงินรายวันของนักเรียน กำหนดเวลา/ปฏิทินการปฏิบัติกิจกรรมตามโครงการเด็กดีมีเงินออมให้เกิดความชัดเจน

 ผลที่ได้รับ

                โรงเรียนวัดดวงแขมีแผนการใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่มีความเหมาะสมกับบริบทและความต้องการของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน คณะกรรมการเครือข่ายผู้ปกครอง ครูและบุคลากรทางการศึกษาทุกคนโรงเรียนวัดดวงแขมีการนำโครงการ / กิจกรรมตามแผนการใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปสู่การปฏิบัติที่เน้นให้นักเรียน คณะครูและบุคลากรมีความรู้ ทักษะ ปฏิบัติตนและดำเนินชีวิตตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง “อยู่อย่างพอเพียง” อย่างเป็นรูปธรรมในหลากหลายรูปแบบ

 ขั้นที่ ๔  ลงมือปฎิบัติ

วิธีการดำเนินการ

ครูผู้สอนกลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม จัดทำแผนการจัดการเรียนรู้กิจกรรมการเรียนการรู้สื่อการเรียนรู้และสร้างบรรยากาศแหล่งการเรียนรู้ภายในโรงเรียนวัดดวงแขที่ส่งเสริมการเรียนรู้ “เศรษฐกิจพอเพียง” ตามมาตรฐาน ส ๓.๑ โดยบูรณการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงกับสาระการเรียนรู้ทุกกลุ่มสาระ ไปใช้ในการเรียนการสอนในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑-๖ เพื่อให้นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง  นักเรียนระดับชั้นปฐมวัย (อนุบาล ๑-อนุบาล ๒) และระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน(ประถมศึกษาปีที่๑– ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖) เปิดบัญชีเงินฝากประเภทออมทรัพย์กับธนาคารออมสิน  สาขาหัวลำโพง  ณ ห้องประชุมโรงเรียนวัดดวงแข  คุณครูผู้รับผิดชอบโครงการเด็กดีมีเงินออม จัดทำทะเบียนบัญชีเงินฝากของนักเรียนทุกคน  นักเรียนทุกคนวางแผนการใช้จ่ายเงินในแต่ละวันด้วยตนเอง และนำเงินที่เหลือจากการใช้จ่ายมาฝากกับคุณครูประจำชั้นทุกวันตามเวลาที่กำหนดเป็นข้อตกลงของห้องเรียน คุณครูประจำชั้นทุกคนจัดทำรายละเอียดการฝากเงินรายวันของนักเรียนในห้องเรียนที่ตนเองรับผิดชอบทุกคนเป็นปัจจุบัน

 ผลที่ได้รับ

นักเรียนระดับชั้นปฐมวัย (อนุบาล ๑  -    อนุบาล ๒)  และระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน (ประถมศึกษาปีที่ ๑ – ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖) มีความรู้ ความเข้าใจและทักษะกระบวนการในการนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม นักเรียนระดับชั้นปฐมวัย (อนุบาล ๑-อนุบาล ๒) และระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน(ประถมศึกษาปีที่๑– ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖) สามารถนำการดำเนินชีวิต “อยู่อย่างพอเพียง” ไปใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างมีความสุข

 

ขั้นที่ ๕ ประเมินตนเองระหว่างการดำเนินงาน

วิธีการดำเนินการ

๑) บันทึกหลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ที่บูรณาการกับมาตรฐาน ส ๓.๑ กลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม

๒) บันทึกรายละเอียดข้อมูลต่างๆในระหว่างการจัดกิจกรรมตามโครงการเด็กดีมีเงินออมด้วยวิธีการดังนี้

-  สังเกตจากพฤติกรรม

-  การสอบถาม

-  การร่วมกิจกรรม

-  สรุปผลการดำเนินงาน

-  แบบประเมิน

๓)  นำข้อมูลจากการประเมินระหว่างการดำเนินกิจกรรมด้วยวิธีการที่หลากหลายมานำเสนอต่อ ที่ประชุมคณะทำงานเพื่อสรุปจุดเด่นและจุดที่ต้องพัฒนาเป็นข้อเสนอแนะสำหรับการดำเนินงานช่วงต่อไป

 ผลที่ได้รับ

นักเรียนทุกคนเกิดความรู้ความเข้าใจและตระหนักถึงความสำคัญของการอยู่อย่างพอเพียงตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง นักเรียนได้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้จ่ายเงิน และดำเนินการวางแผนจัดการด้านการเงินในชีวิตประจำวันได้เป็นอย่างดี

 ขั้นที่ ๖ ลงมือปฏิบัติและปรับปรุงแก้ไข

วิธีดำเนินการ

นำข้อเสนอแนะที่ได้รับจากการประเมินระหว่างการดำเนินงานมาสู่การปฏิบัติ คณะทำงานปฏิบัติกิจกรรมตามปฏิทินที่กำหนดไว้   กำกับ ดูแล   ตรวจสอบ โดยผู้บริหาร ได้รับคำแนะนำ ข้อชี้แนะ จากคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน คณะกรรมการเครือข่ายผู้ปกครอง

 ผลที่ได้รับ

 ๑) ผลการดำเนินงานตามโครงการเด็กดีมีเงินออมเกิดประสิทธิผลตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้

 ๒) ผลการจัดการเรียนรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ที่บูรณาการกับมาตรฐาน ส ๓.๑ กลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ทำให้นักเรียนเกิดความคิดสร้างสรรค์ในการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างคุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด

 ขั้นที่ ๗ รวบรวมข้อมูลและสรุปผล

วิธีการดำเนินการ

เก็บรวบรวมข้อมูลการบันทึกหลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้มาสรุปเป็นปัญหา ข้อเสนอแนะ เพื่อนำไปสู่การทำวิจัยในชั้นเรียนเพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว นำผลการประเมินกิจกรรมตามโครงการเด็กดีมีเงินออมมารวบรวมและสรุปเพื่อเปรียบเทียบผล การประเมินก่อน ประเมินระหว่างและประเมินหลังเสร็จสิ้นโครงการ ประชุมคณะกรรมการสถานศึกษา คณะกรรมการเครือข่ายผู้ปกครอง คณะครูและบุคลากรทางการศึกษาของโรงเรียนวัดดวงแข เพื่อสรุปผลการดำเนินงานและข้อเสนอแนะในการพัฒนา

 ผลที่ได้รับ

๑) คณะทำงานทุกฝ่ายได้แก่ คณะกรรมการสถานศึกษา คณะกรรมการเครือข่ายผู้ปกครอง คณะครูและบุคลากรทางการศึกษาของโรงเรียนวัดดวงแขมีส่วนร่วมในการร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมแก้ปัญหา และร่วมรับรู้

๒) คณะทำงานได้เปรียบเทียบผลการพัฒนา เพื่อนำไปปรับปรุงข้อที่ควรแก้ไขต่อไป

ขั้นที่ ๘ รายงานผลและนำไปเป็นข้อมูลพัฒนา

วิธีการดำเนินการ

ดำเนินการจัดทำเอกสารสรุปเล่ม รายงานผลการปฏิบัติงานต่อคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน คณะกรรมการเครือข่ายผู้ปกครอง พร้อมทั้งคณะครูและบุคลากรทุกท่าน นำผลที่ได้จากการสรุปผลการดำเนินงานมาพัฒนาการดำเนินงานโครงการให้ดียิ่งขึ้นในปีการศึกษา ๒๕๕๕ ต่อไป

 ปัญหาที่พบระหว่างการดำเนินงาน

ธนาคารออมสิน สาขาหัวลำโพง  มีภาระงานในการให้บริการลูกค้า ณ ที่ทำการมากจึงทำให้กำหนดการมารับเงินฝากรายเดือนอาจเปลี่ยนแปลงบ้าง

 วิธีการแก้ปัญหา

นัดหมายและประสานล่วงหน้ากับเจ้าหน้าที่ของธนาคารออมสิน สาขาหัวลำโพง เป็นประจำ เพื่อจะได้แจ้งวัน/เวลาของการมารับเงินฝากที่ชัดเจนแก่ครูประจำชั้นทุกท่าน

 ระยะเวลาดำเนินการ 

ปีการศึกษา ๒๕๕๔

 ค่าใช้จ่ายของโครงการ

                ค่าวัสดุ

 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

๑.  นักเรียนรู้จักวางแผนการใช้จ่ายเงิน และมีวินัยในการใช้จ่ายเงิน

๒.  นักเรียนเกิดการเรียนรู้ทักษะการวางแผนจัดการด้านการเงิน

๓.  นักเรียนได้ตระหนักถึงการออม และใช้เงินอย่างถูกวิธี

๔.  นักเรียนมีความตระหนักว่าการออมเป็นการดำเนินชิวิตอย่างพอเพียงตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง

๕.  นักเรียนมีความคิดสร้างสรรค์ในการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างคุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุดภายใต้แนวคิด “รู้หา รู้เก็บ รู้ใช้ รู้จักให้”

๖.  นักเรียนมีการแบ่งปัน มีน้ำใจ และเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ให้กับคนอื่นๆในสังคม

 

 การติดตามและประเมินผลโครงการ

๑. จากผลการทดสอบปลายภาคเรียนของนักเรียน

๒. จากการตอบแบบสอบถามของนักเรียน ครู และผู้ปกครอง

๓. จากการตอบแบบสอบถามของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน

๔. จากการสังเกตพฤติกรรมของนักเรียนทุกคน

view

ปฎิทิน

« April 2024»
SMTWTFS
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930    

สถิติ

เปิดเว็บ30/12/2010
อัพเดท30/03/2024
ผู้เข้าชม576,547
เปิดเพจ788,734
view